เว็บไซต์ สหกรณ์การเกษตรพรหมพิราม จำกัด

สถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์
 
Online:  1
Visits:  289,799
Today:  40
PageView/Month:  1,833
Last Update:  1/9/2566

 

ศูนย์เรียนรู้การสหกรณ์

ณ จุดบริการสหกรณ์สาขาที่  1 ตำบลหอกลอง

เลขที่   99     หมู่  4   ตำบลหอกลอง

อำเภอพรหมพิราม  จังหวัดพิษณุโลก

-------------------


วัตถุประสงค์ 

1.เพื่อสนับสนุนให้สหกรณ์การเกษตรพรหมพิราม จำกัด  เป็นศูนย์กลางการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าวให้แก่สมาชิกสหกรณ์ สหกรณ์เครือข่ายและเกษตรกร โดยผ่านโรงงานปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์ข้าว และห้องปฏิบัติการทดสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ของสหกรณ์การเกษตรพรหมพิราม จำกัด

2.เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวไทยให้มีคุณภาพได้มาตรฐานเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้นเพื่อลดต้นทุนการผลิตตามนโยบายรัฐ

 

ขั้นตอนและกระบวนการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของสหกรณ์

1. กำหนดเป้าหมายการผลิต

การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของสหกรณ์แต่ละฤดูกาลผลิตต้องมีการกำหนดเป้าหมายในการผลิตว่าจะผลิตพันธุ์ข้าวพันธุ์อะไรให้ตรงกับความต้องการของสมาชิกและเกษตรกรทั้งในจังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดใกล้เคียงเพื่อให้ได้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีมีคุณภาพและตรงกับความต้องการของสมาชิกและเกษตรกรในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการของสมาชิกและเกษตรกรโดยสหกรณ์การเกษตรพรหมพิราม จำกัด มีการกำหนดเป้าหมายในการผลิตในแต่ละฤดูกาล คือ

- พันธุ์พิษณุโลก 2 800 ไร่

- พันธุ์ กข 47 200 ไร่

- พันธุ์ กข 49 400 ไร่

- ขาวดอกมะลิ 105 600 ไร่

2. คัดเลือกพื้นที่และสมาชิกเข้าร่วมโครงการฯ

การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวนั้นหัวใจหลักในการผลิตก็คือเกษตรกรผู้ผลิต ดังนั้นก่อนจะผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวทุกครั้งทางสหกรณ์ฯ จะมีการคัดเลือกพื้นที่และสมาชิกที่มีความประสงค์จะเข้าร่วมโครงการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวกับสหกรณ์โดยการจัดทำใบสมัครและจัดทำประวัติผู้จัดทำแปลง โดยปัจจุบันมีสมาชิกเข้าร่วมโครงการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวกับสหกรณ์การเกษตรพรหมพิราม จำกัด จำนวน 150 ราย จำนวนพื้นที่ 2,000 ไร่

3. จัดอบรมทบทวนความรู้ให้กับสมาชิก

ก่อนการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวทุกครั้งทางสหกรณ์จะต้องมีการจัดอบรมสมาชิกที่สมัครเข้าร่วมโครงการฯและผ่านการคัดเลือกจากทางสหกรณ์ให้เข้าร่วมโครงการก่อนเพื่อชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการรับชื้อเมล็ดพันธุ์คืนจากสมาชิก ตลอดจนวิธีการและขั้นตอนในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวตั้งแต่การเตรียมพื้นที่จนกระทั่งเก็บเกี่ยวเพราะในการทำแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว นอกจากการปฏิบัติดูแลรักษาเช่นเดียวกับการผลิตข้าวทั่วไปแล้วการกำจัดพันธุ์ปนในแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวยังเป็นหัวใจหลักในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวที่สำคัญมากที่ต้องปฏิบัติสำหรับผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ เพื่อให้สมาชิกผู้ผลิตเมล็ดพันธ์ข้าวได้มีความรู้ความเข้าใจในขั้นตอนการผลิตตลอดจนขั้นตอนในการดูแลรักษาและการกำจัดพันธุ์ปนให้ถูกวิธี ดังนั้นทางสหกรณ์จึงได้จัดให้สมาชิกผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวได้รับการฝึกอบรมเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนในการผลิตเม็ดพันธุ์ข้าวตลอดจนวิธีกำจัดพันธุ์ปนในแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวอย่างถูกวิธีและอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่กรมวิชาการเกษตรกำหนด โดยทางสหกรณ์จะเชิญวิทยากรจากหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวมาให้ความรู้กับสมาชิกผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ ดังนี้

- ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวพิษณุโลก

- ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก

- สำนักงานเกษตรอำเภอพรหมพิราม

4. จ่ายเงินกู้และวัสดุการเกษตรให้กับสมาชิก

หลังจากจัดฝึกอบรมสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวเรียบร้อยแล้วทางสหกรณ์จะเริ่มจัดทำสัญญาเงินกู้และจ่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวพร้อมทั้งวัสดุการเกษตรให้กับสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการฯโดยเฉพาะเมล็ดพันธุ์ข้าวนั้นทางสหกรณ์จะจัดหาเมล็ดพันธุ์ข้าวชั้นพันธุ์หลักและชั้นพันธุ์ขยายจากศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลกและศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวพิษณุโลกมาให้กับสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ โดยแบ่งเป็น 2 โครงการ ดังนี้

4.1 โครงการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีของสหกรณ์เพื่อเพิ่มขีดความ สามารถการแข่งขันข้าวไทยสู่สากล ( FTA ) ปี 2554 – 2559

- มีสมาชิกเข้าร่วมโครงการทั้งหมดจำนวน 120 ราย เป็นเงินกู้ ปลอดดอกเบี้ย

- จ่ายเงินกู้ให้กับสมาชิกเพื่อเป็นทุนหมุนเวียนในการปลูกข้าวรายละ บาท

- จ่ายเงินกู้ให้กับสมาชิกเพื่อเป็นทุนหมุนเวียนในการปลูกพืชหลังนารายละ 14,000 บาท

  4.2 โครงการปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวของสถาบันเกษตรกร

- มีสมาชิกเข้าร่วมโครงการทั้งหมดจำนวน 30 ราย เป็นเงินกู้อัตรา ดอกเบี้ยร้อยละ 7 บาทต่อปี 

- จ่ายเงินกู้ให้กับสมาชิกเพื่อเป็นทุนหมุนเวียนในการปลูกข้าวรายละ 3,500 บาทต่อไร่

5. ติดตามควบคุมแปลง

การติดตามควบคุมแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของสหกรณ์นั้นทางสหกรณ์จะมีเจ้าหน้าที่การเกษตรของสหกรณ์ที่มีประสบการณ์และมีความรู้ความสามารถในด้านการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคอยตรวจแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวและให้คำแนะนำเกี่ยวกับขั้นตอนในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวทุกขั้นตอน โดยการตรวจแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของสหกรณ์นั้นจะเริ่มตรวจและจดบันทึกรายละเอียดของสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมดตั้งแต่การหว่านจนกระทั่งเก็บเกี่ยวในการตรวจแปลงนาเพื่อถอนพันธุ์ปนให้ได้ผลดีนั้น ทางสหกรณ์ฯจะมีการฝึกอบรมสมาชิกผู้ผลิตให้รู้จักและคุ้นเคยกับลักษณะประจำพันธุ์ของข้าวพันธุ์นั้น ๆ ตลอดจนรู้จักลักษณะที่สามารถใช้แยกความแตกต่างระหว่างสายพันธุ์ และในการตรวจแปลงเมล็ดพันธุ์ในแต่ละครั้งนั้นทางสหกรณ์จะมีเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรไปตรวจและคอยให้คำแนะนำทุกครั้งและ ต้องมีการตรวจแปลงหลาย ๆ ครั้ง ตามระยะการเจริญเติบโตซึ่งโดยทั่วไปแล้วทางสหกรณ์ฯจะทำการตรวจแปลงและกำจัดพันธุ์ปนทั้งหมดจำนวน 4 ครั้งต่อสมาชิก 1 ราย ดังนี้ 

ครั้งที่ 1 ระยะแตกกอให้สังเกตดูต้นกล้าที่มีลักษณะผิดปกติ ลักษณะการแตกกอ การชูใบ ขนาดของใบ ความแตกต่างของความสูงลักษณะทรงต้น ซึ่งสามารถแยกลักษณะพันธุ์ปนได้ทันที หากพบต้นผิดปกติดังกล่าวจะให้ถอนทิ้งทันที 

ครั้งที่ 2 ระยะออกดอกให้สังเกตดูความสูง ต่ำของต้นข้าวในระยะออกดอก ความสม่ำเสมอและความพร้อมเพรียงกันในการออกดอกความสูงของรวง ความยาวของคอรวง ลักษณะการตั้งของใบธง ควรตัดข้าวปนเมื่อข้าวออกดอกประมาณ 80% ถ้าพบข้าวที่มีลักษณะแตกต่าง เช่นยังไม่ตั้งท้องหรือเริ่มโน้มรวงให้ตัดทิ้งทันที 

ครั้งที่ 3 ระยะโน้มรวง เมื่อรวงข้าวเริ่มโน้มรวงให้ดูความสม่ำเสมอและความพร้อมเพรียงในการโน้มรวง ถ้าพบต้นข้าวที่เพิ่งโผล่รวง หรือยังไม่ออกดอกให้ตัดทิ้งทันทีและตรวจดูลักษณะรูปร่าง ขนาดของเมล็ดกับความถี่ห่างของระแก้ร่วมด้วย 

ครั้งที่ 4 ระยะสุกแก่ (ข้าวเหลือง) ดูความสม่ำเสมอและความพร้อมเพรียงกัน ในการสุกแก่ของเมล็ด สีของเปลือกเมล็ด ซึ่งสมาชิกผู้ผลิตจะต้องมีความชำนาญในการสังเกตและดูแลรักษา

  6. การเก็บเกี่ยวและจัดชื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวคืนจากสมาชิก

การเก็บเกี่ยว 

สหกรณ์ฯจะเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์ข้าวเมื่อข้าวได้อายุครบกำหนดการเก็บเกี่ยวอายุประมาณ 105– 115 วัน ขึ้นอยู่กับอายุของแต่ละสายพันธุ์และจะต้องมีการทำความสะอาดเครื่องมือในการเก็บเกี่ยวและรถลากข้าวดังนี้ 

รถเกี่ยวการใช้รถเกี่ยวข้าวนั้นทางสหกรณ์ฯ จะต้องให้รถทำความสะอาดก่อนโดยเริ่มจากส่วนที่อยู่ด้านนอกให้สะอาดเสียก่อนเท่าที่จะทำได้แล้วใช้น้ำฉีดล้างเข้าไปข้างในโดยใช้เครื่องสูบน้ำฉีดเข้าไปในหัวเกี่ยว โดยให้ช่องที่เราเปิดไว้ให้คว่ำอยู่ด้านล่าง น้ำและข้าวเปลือกจะไหลออกสะดวกไม่ให้มีข้าวเปลือกติดอยู่ข้างในเลย แล้วอย่าเพิ่งปิดแผ่นเหล็กที่เปิดระบายน้ำ ต้องให้เหล็กข้างในแห้งสนิทเสียก่อน และใช้ลมเป่าให้แห้งสนิทแล้วจึงปิด และ ในการลงมือเกี่ยวแต่ละครั้งนั้นจะต้องให้รถเกี่ยววนรอบนาอย่างน้อยประมาณ 2 – 3 รอบ แล้วนำมาพ่นทิ้งไว้จึงจะเริ่มเก็บเกี่ยวได้ และจะต้องปฏิบัติอย่างนี้ทุกครั้งหลังจากเปลี่ยนพันธุ์เกี่ยว 

รถลากข้าวทำความสะอาดรถลากเมล็ดพันธุ์ข้าวอย่างดีก่อนนำไปใช้ลากโดยการกวาดที่พื้นตามซอกรถหรือใช้ลมเป่าให้ทั่วคันทุกครั้งก่อนลากหรือเปลี่ยนพันธุ์ 

 

การตรวจสอบคุณภาพ 

ขั้นตอนในการตรวจสอบคุณภาพนั้น ทางสหกรณ์จะมีการตรวจสอบคุณภาพด้วยกันทั้งหมด 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ตรวจสอบคุณภาพก่อนรับซื้อ (ตรวจสอบทางกายภาพ) และส่วนที่ 2 ตรวจสอบคุณภาพหลังรับซื้อโดยเก็บตัวทดสอบในห้องปฏิบัติการทดสอบเมล็ดพันธุ์ข้าว อีกครั้ง โดย ตัวอย่างเมล็ดพันธุ์ที่นำมาตรวจสอบคุณภาพนั้นถือว่าเป็นตัวแทนของเมล็ดพันธุ์ทั้งหมด ซึ่งนับว่ามีปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับเมล็ดพันธุ์ทั้งกอง เพื่อให้ผลการตรวจสอบมีค่าใกล้เคียงกับคุณภาพเมล็ดพันธุ์ทั้งกอง จึงจำเป็นต้องทำการเก็บหรือสุ่มตัวอย่างเมล็ดพันธุ์อย่างทั่วถึง เพื่อให้ได้ตัวอย่างที่เป็นตัวแทนอย่างแท้จริง ดังนี้

ส่วนที่ 1ทางสหกรณ์ฯจะมาทำการตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวก่อนทำการรับซื้อคืนจากสมาชิกโดย การสุ่มตรวจเมล็ดพันธุ์ข้าวจากกองของสมาชิกผู้ผลิต ต้องไม่น้อยกว่า 1 กิโลกรัมและนำตัวอย่างเมล็ดพันธุ์ที่ทำการสุ่มนำมาคลุกเคล้าให้มีความสม่ำเสมอกันและนำตัวอย่างมาแบ่งออกเป็น 2 ตัวอย่าง โดยนำตัวอย่างที่1 จำนวน 500 กรัม นำไปกะเทาะเปลือกด้วยเครื่องกะเทาะข้าวเปลือกจนได้ข้าวกล้องแล้วนำมาตรวจหาปริมาณข้าวแดงและข้าวเหนียวปนโดยในปริมาณ 500 กรัม จะต้องมีข้าวแดงและข้าวเหนียวปนไม่เกิน 5 เมล็ด และถ้าสมาชิกรายใดมีปริมาณข้าวแดงและข้าวเหนียวปนเกินกว่ามาตรฐานที่ทางกรมวิชาการเกษตรและสหกรณ์ฯกำหนดทางสหกรณ์ก็จะไม่รับซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวของสมาชิกรายนั้น ส่วนตัวอย่างที่ 2 นำมาวัดความชื้นด้วยเครื่องวัดความชื้นและต้องมีความชื้นไม่เกิน 28 % และถ้าเมล็ดพันธุ์ข้าวของสมาชิกรายใดมีความชื้นเกินกว่ามาตรฐานที่กรมวิชาการเกษตรและสหกรณ์ฯกำหนดทางสหกรณ์ก็จะไม่รับชื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวของสมาชิกรายนั้น

ส่วนที่ 2 เมื่อตรวจสอบคุณภาพทางกายภาพเรียบร้อยแล้วและทำการรับซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวจากสมาชิกผู้ผลิตมาแล้วทางสหกรณ์ฯ ก็จะมีการสุ่มตัวอย่างเมล็ดพันธุ์ข้าวในกองของสมาชิกอีกครั้งโดย น้ำหนักของตัวอย่างที่เก็บต้องไม่น้อยกว่า 1 กิโลกรัมเพื่อตรวจสอบมาตรฐานคุณภาพเมล็ดพันธุ์ยังห้องตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ ของสหกรณ์การเกษตรพรหมพิราม จำกัด และหลังจากได้ผลการตรวจสอบจากห้องปฏิบัติการทดสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์แล้วนั้นจะต้องมีผลการตรวจสอบผ่านตามมาตรฐานของกรมวิชาการเกษตร

 

การรับชื้อและราคาในการรับชื้อเมล็ดพันธ์ข้าวคืนจากสมาชิก

เมื่อผ่านการตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวตามกระบวนการตรวจสอบของสหกรณ์แล้วทางสหกรณ์จะรับชื้อเมล็ดข้าวจากสมาชิกตามเกณฑ์ความชื้นที่สหกรณ์กำหนด ดังนี้

การตากและลดความชื้น

วิธีการตากลดความชื้นนั้น เนื่องจากทางสหกรณ์ไม่มีเครื่องอบลดความชื้นที่มีประสิทธิภาพสูงพอที่จะลดความชื้นข้าวในปริมาณที่มากได้เพราะฉะนั้นทางสหกรณ์จึงต้องหันมาใช้ลานและคนตากเพื่อลดความชื้นแทนการอบ ซึ่งการตากนั้นก่อนตากหรือนำข้าวมาเทลงลานต้องทำความสะอาดลานก่อนโดยการกวาดเมื่อทำความสะอาดลานเรียบร้อยแล้วถึงทำการตากข้าวได้ ส่วนการตากจะควบคุมการตากให้ได้ความชื้นต่ำกว่า 12 เปอร์เซ็นต์ และการแผ่กองข้าวควรให้กองหนาไม่เกิน 10 เซนติเมตร และหมั่นกลับกองข้าวตลอดเวลา เมื่อได้ความชื้นที่เหมาะสมแล้วก็ทำการบรรจุเมล็ดพันธุ์ลงใส่กระสอบป่านและนำไปจัดเรียงไว้ในยุ้งฉาง

การเก็บรักษารอการพักตัว

การเก็บเมล็ดพันธุ์นั้นทางสหกรณ์จะเก็บเมล็ดพันธุ์ที่ผ่านมาตรฐานการตรวจสอบความชื้นแล้วใส่กระสอบ โดย กระสอบที่นำมาบรรจุเมล็ดพันธุ์ข้าวนั้นควรจะเป็นกระสอบป่าน ซึ่งสามารถถ่ายเทอากาศได้ดีและควรจะเป็นกระสอบที่ใหม่หรือเป็นกระสอบที่บรรจุพันธุ์เดียวกันไม่ควรเปลี่ยนพันธุ์ใส่และในการบรรจุกระสอบนั้นจะทำการติดป้ายรายชื่อ และวันเดือนปี ที่เก็บเกี่ยวของผู้ปลูกไว้ทุกกระสอบ เพื่อความสะดวกในการตรวจสอบคุณภาพและการนำเมล็ดพันธุ์เข้าปรับปรุงหรือแปรรูปการวางเมล็ดพันธุ์ในยุ้งฉางหรือที่เก็บนั้นทางสหกรณ์ฯจะจัดวางเมล็ดพันธุ์แยกเป็น รายๆ และแต่ละสายพันธุ์จะแยกยุ้งหรือฉางเก็บจะไม่เก็บไว้รวมกันหรือใกล้กันเด็ดขาดเพื่อป้องกันการปลอมปน และในการวางเมล็ดพันธุ์จะไม่วางเมล็ดพันธุ์ไว้ติดกับพื้นโดยแต่ละรายจะมีเพลชรองที่พื้นทุกรายเพื่อป้องกันความชื้นจากพื้น และการเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าวใส่ยุ้งฉาง ก่อนจะนำเมล็ดพันธุ์ข้าวเข้าเก็บจะต้องทำความสะอาดยุ้งฉางก่อนทุกครั้งที่จะนำเมล็ดพันธุ์ไปเก็บโดยการกวาดหรือเอาลมเป่าให้สะอาดปราศจากเมล็ดพันธุ์ปลอมปน ส่วนการวางเมล็ดพันธุ์นั้นจะจัดแยกพันธุ์ไม่ควรวางเมล็ดพันธุ์ไว้ใกล้กันมากจนเกินไป และทำการพ่นยาเพื่อฆ่าแมลงและมอดที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์หรือแมลงที่อยู่ในยุ้งฉาง

7. การปรับปรุงสภาพและรอการจำหน่าย

เมื่อครบกำหนดการพักตัวครบ 8 สัปดาห์ ของข้าวเปลือกเมล็ดพันธุ์ที่รับชื้อคืนจากสมาชิกโดยการตากลดความชื้นให้เหลือความชื้น ไม่เกิน 14% แล้วก็จะนำเมล็ดพันธุ์ข้าวเปลือกเมล็ดพันธุ์ที่ครบกำหนดการพักตัวแล้วโดยคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ที่เกี่ยวเกี่ยวก่อนนำไปเข้าสู่กระบวนการปรับปรุงสภาพในโรงงานปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวของสหกรณ์เพื่อผ่านกระบวนการคัดแยกของเครื่องคัดแยกและบรรจุกระสอบ โดยบรรจุกระสอบละ 25 กิโลกรัม และเก็บไว้ในโรงเก็บเมล็ดพันธุ์เพื่อรอการจำหน่าย

8. การจำหน่าย

การจัดจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวหลังผ่านการปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์แล้วของสหกรณ์มีกลุ่มเป้าหมายในการจัดจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวของสหกรณ์

 

 
การให้บริการ
ถาม-ตอบ
สมุดเยี่ยมชม
ดาวน์โหลด
กระดานสนทนา
เกี่ยวกับเรา
ข้อบังคับสหกรณ์
ระเบียบสหกรณ์
กิจกรรมสหกรณ์
 
 
 
Online:  1
Visits:  289,799
Today:  40
PageView/Month:  1,833